Health

  • แสงสีฟ้า คืออะไร มีผลดีผลเสียยังไง
    แสงสีฟ้า คืออะไร มีผลดีผลเสียยังไง

    แสงสีฟ้า คนส่วนใหญ่ทราบดีว่าแสงแดดมีรังสีที่มองเห็นได้และมองไม่เห็น รังสีอัลตราไวโอเลต ที่สามารถทำให้ผิวสีแทนหรือไหม้ได้ แต่สิ่งที่หลายคนไม่รู้ก็คือแสงที่มองเห็นได้ซึ่งปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์นั้นประกอบไปด้วยรังสีแสงสีต่าง ๆ ซึ่งมีพลังงานในปริมาณที่แตกต่างกัน

    แสงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสีแสงสีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน และเฉดสีหลายสีของแต่ละสี ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับพลังงานและความยาวคลื่นของรังสีแต่ละชนิด (เรียกอีกอย่างว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้า) เมื่อรวมกันแล้วสเปกตรัมของแสงสีนี้จะสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า แสงสีขาว หรือแสงแดด

    แสงสีฟ้า

    ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ แสงสีฟ้า

    1. แสงสีฟ้ามีอยู่ทุกที่
    แสงแดดเป็นแหล่งกำเนิดหลักของแสงสีฟ้า และการอยู่กลางแจ้งในช่วงกลางวันเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ได้รับแสงมากที่สุด แต่ยังมีแหล่งกำเนิดแสงสีฟ้าในร่มที่มนุษย์สร้างขึ้นมากมาย รวมถึงหลอดฟลูออเรสเซนต์ และไฟ LED และโทรทัศน์จอแบน

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอแสดงผลของคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ จะปล่อยแสงสีฟ้าจำนวนมาก ปริมาณแสง HEV ที่อุปกรณ์เหล่านี้ปล่อยออกมาเป็นเพียงเศษเสี้ยวของแสงที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมา แต่ระยะเวลาที่ผู้คนใช้อุปกรณ์เหล่านี้และความใกล้ชิดของหน้าจอเหล่านี้กับใบหน้าของผู้ใช้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาและผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ จำนวนมากที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาวที่เป็นไปได้ของแสงสีฟ้าที่มีต่อสุขภาพดวงตา

    2. รังสีของแสง HEV ทำให้ท้องฟ้าเป็นสีฟ้า
    รังสีแสงพลังงานสูงความยาวคลื่นสั้นที่ปลายสีฟ้าของสเปกตรัม แสงที่มองเห็นได้จะกระจายได้ง่ายกว่ารังสีแสงอื่น ๆ ที่มองเห็นได้เมื่อกระทบกับโมเลกุลของอากาศและน้ำในชั้นบรรยากาศ ระดับการกระจายที่สูงขึ้นของรังสีเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้ท้องฟ้าไร้เมฆดูเป็นสีฟ้า

    3. ตาจะกั้นแสงสีฟ้าได้ไม่ค่อยดีนัก
    โครงสร้างด้านหน้าของดวงตามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ (กระจกตาและเลนส์) มีประสิทธิภาพมากในการปิดกั้นรังสียูวีไม่ให้ไปถึงจอตาที่ไวต่อแสงที่ด้านหลังของลูกตา ในความเป็นจริงรังสียูวีจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มาถึงจอตาคุณแม้ว่าคุณจะไม่ได้สวมใส่ แว่นกันแดดก็ตาม

    ประเภทของแสงสีฟ้า

    จริงๆแล้วแสงสีฟ้านั้นมี 2 ประเภท คือแสงสีฟ้าที่ดี และ แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ แสงสีฟ้าที่ดี จะช่วยทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาช่วยทำให้เรากระฉับกระเฉง รู้ว่าเวลาไหนควรนอน เวลาไหนควรตื่น หรือแม้แต่บอกว่าเราควรกินตอนไหน ถ่ายตอนไหน เรียกง่ายๆ ว่า นาฬิกาชีวิต ที่ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกตินั่นเอง

    ข้อดีของแสงสีฟ้าช่วยเรื่องอะไร

    – แสงสีฟ้าเป็นแสงที่ช่วยปรับสภาวะทางอารมณ์ให้ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า และโฟกัสในสิ่งที่ทำได้อย่างกระฉับกระเฉง

    – แสงสีฟ้าช่วยปรับสมองมีความจำที่ดีขึ้น เมื่อมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สามารถเข้าใจได้ง่าย

    – เป็นแสงสีฟ้าที่ช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้า(Depression) และโรคอารมณ์ตามฤดูกาล

    อันตรายของแสงสีฟ้าต่อสุขภาพดวงตา

    ทำไมแสงสีฟ้าถึงอันตราย เพราะแสงสีฟ้าค่อนข้างมีพลังงานสูง ถ้าเทียบกับความยาวคลื่นของแสงในช่วงอื่น ๆ แสงสีฟ้าจึงสามารถทะลุทะลวงอวัยวะอย่างดวงตาได้ตั้งแต่กระจกตา เลนส์แก้วตา ไปจนถึงจอประสาทตาที่อยู่ลึกที่สุดและสำคัญที่สุดได้ค่อนข้างเยอะ

    วิธีการดูแลและปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า

    – ขณะออกแดดภายนอกอาคาร ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีแสงจ้ามากๆ หรือหากจำเป็นต้องทำงานกลางแดด ควรป้องกันให้แสงเข้าสู่ดวงตาน้อยที่สุด โดยการถือร่ม สวมหมวก และเลือกใช้แว่นกันแดดที่มีเลนส์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองรังสี UV ได้ 99-100% และแสงที่มองเห็นได้ 75-90%

    – ขณะใช้อุปกรณ์หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต ควรสวมแว่นตากรองแสงที่มีสารเคลือบกรองแสงสีฟ้าเพื่อช่วยถนอมดวงตา ทำให้ดวงตารู้สึกสบายขึ้นเมื่อใช้อุปกรณ์หน้าจออิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลานาน
    นอกจากนี้อุปกรณ์หน้าจออิเล็กทรอนิกส์บางรุ่นปัจจุบันยังสามารถปรับโหมดตั้งค่าให้ลดแสงสีน้ำเงินบนหน้าจอ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการตาล้าได้

    – การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับดวงตา เช่น การทำงานใช้สายตาในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการปิดไฟเล่นโทรศัพท์มือถือเนื่องจากในที่มืดรูม่านตาจะขยายทำให้เราได้รับแสงเข้าสู่ดวงตามากขึ้น หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการใช้สายตาในบริเวณที่มีลมแรงเป่าอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากทำให้ตาแห้งและเกิดอาการตาล้าได้

    ที่มา

    allaboutvision.com

    pharmacy.mahidol.ac.th

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ prime-tone.com

     

Economy

  • ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566
    ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566

    ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้เช็กสิทธิแล้ว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก

    บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้ผู้ลงทะเบียนเช็กสิทธิแล้ว วิธีตรวจสอบสถานะไม่ยุ่งยาก พร้อมแนะขั้นตอนสำหรับ “ผู้ผ่านเกณฑ์” และ “ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์” ต้องทำยังไงต่อไป

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ส่งข้อมูลผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการฯ) ปี 2565 ที่มีสถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์ให้หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณสมบัตินั้น บัดนี้ การดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในโครงการฯ ได้กำหนดวันประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติโครงการฯ ปี 2565 ในวันที่ 1 มี.ค. 2566

    ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์สามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

    1. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน
    2. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ สังกัดกรมบัญชีกลาง ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา เมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงานสำหรับการตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานรับลงทะเบียนแต่ละแห่ง

    3. โทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันจันทร์ – วันศุกร์ ตามเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน

    ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้เช็กสิทธิแล้ว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    สำหรับผู้ที่ “ผ่านเกณฑ์” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

    1. ผู้ลงทะเบียนที่ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 แล้ว พบว่า เป็นผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ต้องยืนยันตัวตน ณ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. โดยสามารถยืนยันตัวตนได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนด้วย ณ ธนาคารดังกล่าวตามวันและเวลาทำการของแต่ละธนาคาร

    2. เมื่อยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ในวันถัดไป หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    3. ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินจะให้บริการยืนยันตัวตนเป็นเวลา 180 วันนับจากวันที่ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติ (วันที่ 1 มีนาคม – 27 สิงหาคม 2566) และธนาคารกรุงไทยฯ จะให้บริการยืนยันตัวตน โดยยังไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการให้บริการ สำหรับการยืนยันตัวตนในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร

    4. ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้ ทั้งนี้ การผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้ล่วงหน้า จะทำให้ผู้ได้รับสิทธิสะดวกในการรับสิทธิสวัสดิการหากกรณีที่ภาครัฐมีสวัสดิการที่จะโอนเข้าบัญชีในอนาคต

    ทั้งนี้ หากพบว่าสถานะการยืนยันตัวตนสมบูรณ์ ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติจึงจะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ในกรณีที่ผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ยืนยันตัวตนสำเร็จตั้งแต่วันที่ 1 – 26 มีนาคม 2566 และในกรณีผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ยืนยันตัวตนหลังวันที่ 26 มีนาคม 2566 จะได้ใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด สำหรับผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบัน จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐได้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2566 เท่านั้น

    สำหรับผู้ที่ “ไม่ผ่านเกณฑ์” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

    สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 แล้ว พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ผู้ลงทะเบียนสามารถยื่นขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. – 1 พ.ค. 2566 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

    1. ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน

    2. ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยฯ ธ.ก.ส. สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน โดยให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ โดยผู้ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนก่อนดำเนินการยื่นอุทธรณ์

    ทั้งนี้ หลังจากผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการยืนยันการขออุทธรณ์ตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการขอตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้วยตนเอง หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติกำหนด เพื่อขอปรับปรุงหรือแก้ไขข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พ.ค. 2566.

     

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : prime-tone.com